“เพราะความเครียดจากการทำงาน ส่งผลกระทบต่อร่างกายและจิตใจของบุคลากร “เราจึงต้องส่งเสริมสุขภาพ โดยการกระตุ้นและสร้างความตระหนัก ด้านสุขภาพ ให้บุคลากรทุกคน มีส่วนร่วมในการพัฒนาเป็น มหาวิทยาลัยสุขภาพดี”
การพัฒนาศักยภาพการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สำหรับการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ (Capacity Building on Health Promotion of Chiang Mai University’s Staff for Moving to Healthy University)
การสร้างเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่พึงประสงค์เป็นสิ่งสําคัญอีกประการหนึ่งในการขับเคลื่อนการเป็นมหาวิทยาลัยที่มีสุขภาวะที่ดี หรือมหาวิทยาลัยสุขภาพ (Healthy University) จากความสำคัญและความจำเป็นของปัญหาด้านสุขภาพของบุคลากรวัยทำงานใมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำงานจึงเล็งเห็นความสำคัญในการสร้างเสริมพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีส่วนร่วมในการพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้เป็นมหาวิทยาลัยสุขภาวะที่ดี โดยการศึกษาภาวะสุขภาพ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนากิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่พบบ่อยในวัยทำงาน และเพื่อลดอุบัติการณ์ของการเกิดปัญหาสุขภาพ ภาวะทุพพลพลภาพของบุคลากรเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ นำไปสู่การเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพของบุคลากรในการทำงาน และสามารถเตรียมตัวรองรับเข้าสู่วัยเกษียณได้อย่างเหมาะสม
การดำเนินกิจกรรมในภาพรวม มีการขับเคลื่อนกระบวนการผ่านตัวแทนบุคลากรในแต่ละคณะ หน่วยงานต่างๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพอย่าง เป็นรูปธรรม พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาพของบุคลากรเพื่อให้เกิดการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์สูงสุดในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ และการวิเคราะห์แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และบุคคล จัดกิจกรรมด้านการพัฒนาที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพของ บุคลากรอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมรณรงค์ในวงกว้าง (Mass Communication) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างเสริมสุขภาพทั้งมหาวิทยาลัยโดยการจัดกิจกรรม สร้างความตระหนัก (Public Awareness) เพื่อนำไปสู่ความตื่นตัวการสร้างเสริมสุขภาพกาย และใจของบุคลากรในใมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีระยะการดำเนินการ 2 ปีดังนี้
ที่ 1: การดำเนินการปีที่ 1 โครงการแบ่งเป็น 8 โครงการย่อย ได้แก่
โครงการที่ 1: การประชาสัมพันธ์ สร้างความตระหนัก (Awareness Raising) และกิจกรรมการสร้างเสริมพลังงานอำนาจ (Empowerment) “Health Talk”
โครงการที่ 2: การพัฒนาระบบฐานข้อมูลประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพ (Developing of the Data Health Risk Assessment System) สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการที่ 3: การพัฒนานวัตกรรมการคัดกรอง และฝ้าระวังภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง (Self-Monitoring Innovation)
โครงการที่ 4: การจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำหรับบุคลากรอย่างต่อเนื่องจัดกิจกรรมรณรงค์ในวงกว้าง (Mass Communication) ได้แก่ โครงการ “3 อ.: อาหาร ออกกำลังกาย อารมณ์”
โครงการที่ 5: การพัฒนา MOOC ให้ความรู้ ลดความเสี่ยงในการป้องกันโรค ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูงและโรคหัวใจแก่บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการที่ 6: การดำเนินกิจกรรมการสร้างแกนนำสุขภาพ เป็นการดำเนินการอบรมและจัดตั้งคณะทำงานการสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในทุกคณะ หรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โครงการที่ 7: การจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพใจสำหรับบุคลากร“Stop Staff Stress”
โครงการที่ 8: การจัดตั้งคลินิกจัดการความเครียด(Stress Management Clinic)
ปีที่ 2: การดำเนินการปีที่ 2 โครงการแบ่งเป็น 7 โครงการย่อย ได้แก่
โครงการที่ 1: การให้คำปรึกษาและบริการโดยการพัฒนาโปรแกรมการสร้างเสริมสุขภาพทั้งรายบุคคล และรายกลุ่ม (Counselling and Providing Health Promotion Services for NCD’s Management Programs) (Individual or Group)
โครงการที่ 2 : การรจัดกิจกรรมการสร้างเสริมพลังงานอำนาจ (Empowerment) สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ กิจกรรม “Health Talk”
โครงการที่ 3: การจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพปอด โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ และการจัดให้มีพื้นที่ปลอดบุหรี่ (Smoke Free Area )
โครงการที่ 4: การจัดกิจกรรมสุขภาพตับดำเนินการจัดกิจกรรมรณรงค์มหาวิทยาลัยปลอดเหล้า (Uni. Zero% Alcohol) และการดำเนินการให้บริการคำปรึกษาและอบรมในการเลิกเหล้า
โครงการที่ 5: การดูแลและรักษาระบบฐานข้อมูลสุขภาพ (Developing of the Data Health Risk Assessment System) และการดูแลรักษาระบบ Self-Monitoring
โครงการที่ 6: การพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพอัจฉริยะอย่างยั่งยืน (Smart Sustainable Health Promotion System)
โครงการที่ 7:การดำเนินกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดเวทีเสวนาในการับฟังข้อคิดเห็น รวมถึงการดำเนินกิจกรรมการประเมินความสำเร็จของโครงการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่จากทุกภาคส่วนระยะเวลาดำเนินการ
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 2 ปี (1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2564)
ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ เป็นโครงการในการพัฒนาแกนนำทางด้านสุขภาพในการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงานและคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพเพื่อการมีสุขภาพดี ลดความเสี่ยง และช่วยในการเฝ้าระวังทางด้านสุขภาพเพื่อมุ่งเน้นให้บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงมีศักยภาพในการดูแลตนเองและสามารถสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง และมีคุณภาพชีวิตที่ดี นำไปสู่การเตรียมเข้าสู่วัยสู่อายุอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป แนวคิดของการพัฒนาสู่การเป็นมหาวิทยาลัยสร้างเสริมสุขภาพ จะต้องเกิดจากการร่วมมือกันของทุกภาคส่วน
การดำเนินกิจกรรมการสร้างแกนนำสุขภาพ เป็นการดำเนินการจัดกิจกรรมการสร้างแกนนำ และคณะทำงานการสร้างเสริมสุขภาพให้เกิดขึ้นในทุกคณะ หรือหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรอย่างต่อเนื่อง โดยการจัดอบรมแกนนำการสร้างเสริมสุขภาพให้มีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการสร้างเสริมสุขภาพสำหรับบุคลากรในหน่วยงานของตน รวมถึงการสนับสนุนแกนนำในการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในระดับคณะ และหน่วยงาน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 ปี (1 มกราคม 2564- 31 ธันวาคม 2564)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพด้านการลด ละ เลิก บุหรี่ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะช่วยลดผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ทั้งผลกระทบทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษกิจ ทั้งของผู้ที่สูบบุหรี่ และผู้ได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งผลลัพธ์ที่สำคัญคือ จะทำให้ประเทศไทยมีประชากรที่มีสุขภาพที่ดีทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคม และมีเศรษฐานะที่ดี รวมถึงมีคุณภาพชีวิตที่ดีในทุกกลุ่มวัย ทั้งวัยทำงาน และวัยผู้สูงอายุ การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพด้านการลด ละ เลิก บุหรี่ จะทำให้คนวัยทำงานเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างพลังขับเคลื่อน โดยเน้นกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งการมีส่วนร่วมของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการส่งเสริมสุขภาพ จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้การดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประสบความสำเร็จ ดังนั้นการดำเนินโครงการ การพัฒนาศักยภาพการส่งเสริมสุขภาพด้านการลด ละ เลิก บุหรี่ นี้ จะเปิดโอกาสให้บุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เข้ามามีส่วนร่วมในการออกแบบ การจัดกิจกรรม การรณรงค์ลด ละ เลิก บุหรี่ รวมถึงการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดจากการสูบบุหรี่ หากการดำเนินโครงการนี้ประสบความสำเร็จ จะส่งผลให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพของตนเอง ให้มีสุขภาพดี ทำให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มกำลังความสามารถ มีความสุขกับการทำงาน ช่วยลดค่าใช้จ่ายให้กับตนเอง ครอบครัว มหาวิทยาลัย และประเทศชาติ
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ (ข้าราชการสาย ก. และพนักงานมหาวิทยาลัยสายวิชาการ) และบุคลากรสายสนับสนุน (ข้าราชการสาย ข. ค. พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและลูกจ้าง) ให้สามารถลด ละ เลิก บุหรี่ได้
กิจกรรมที่ 1 : การสำรวจการสูบบุหรี่
กิจกรรมที่ 2 : การให้ความรู้เรื่องบุหรี่ และการลด ละ เลิก บุหรี่
กิจกรรมที่ 3 : การฝึกการให้การปรึกษาในการละ ลด เลิกบุหรี่ สำหรับบุคลากรแกนนำ (Training for the Trainer)
กิจกรรมที่ 4 : การจัดกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพปอด โดยการจัดกิจกรรมรณรงค์ และการจัดให้มีพื้นที่ปลอดบุหรี่ (Smoke Free Area )
กิจกรรมที่ 5 : การจัดตั้งคลินิกปลอดบุหรี่
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 ปี (1 มกราคม 2564- 31 ธันวาคม 2564)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำหรับบุคลากรอย่างต่อเนื่องจัดกิจกรรมรณรงค์ในวงกว้าง (Mass Communication) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างเสริมสุขภาพทั้งมหาวิทยาลัยโดยมี การจัดกิจกรรม เปิดตัวและประชาสัมพันธ์โครงการ การสร้างความตระหนัก (Public Awareness) เพื่อนำไปสู่ความตื่นตัวการรักสุขภาพกาย และใจของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แก่ กิจกรรมรณรงค์ พัฒนา Healthy MOOC สื่อออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดทางร่างกาย และโรคที่เกิดทางด้านจิตใจ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพต่อการสร้างเสริมสุขภาพในบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
1. เพื่อสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดทางร่างกาย และโรคที่เกิดทางด้านจิตใจ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ
2. เพื่อพัฒนาสื่อออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่อการสร้างเสริมสุขภาพในบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดกิจกรรมรณรงค์ด้านการสร้างเสริมสุขภาพกาย สำหรับบุคลากรอย่างต่อเนื่องจัดกิจกรรมรณรงค์ในวงกว้าง (Mass Communication) เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างเสริมสุขภาพทั้งมหาวิทยาลัยโดยมี การจัดกิจกรรม เปิดตัวและประชาสัมพันธ์โครงการ การสร้างความตระหนัก (Public Awareness) เพื่อนำไปสู่ความตื่นตัวการรักสุขภาพกาย และใจของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้แก่ กิจกรรมรณรงค์ พัฒนา Healthy MOOC สื่อออนไลน์แบบเปิดสำหรับมหาชนเรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเพื่อสร้างความรอบรู้ทางสุขภาพ เกี่ยวกับการป้องกันโรค ไม่ติดต่อเรื้อรังที่เกิดทางร่างกาย และโรคที่เกิดทางด้านจิตใจ และแนวทางการสร้างเสริมสุขภาพ สำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพต่อการสร้างเสริมสุขภาพในบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 2 ปี (1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2564)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ต้องการศึกษาประสิทธิภาพการใช้สื่อวิดีทัศน์ในการให้ความรู้ สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะในการส่งเสริมสุขภาพในบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อใช้ในการเผยแพร่แก่บุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง อีกทั้งเพื่อให้บุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ลดความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่าง ๆ
เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้สื่อวิดีโอโดยใช้เแนวคิดการให้ความรู้ สร้างความตระหนัก และพัฒนาทักษะในการส่งเสริมสุขภาพโดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะ ดังนี้
1. เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของบุคคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. เพื่อศึกษาความเสี่ยงต่อสุขภาพของบุคคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
3. เพื่อศึกษาการส่งเสริมสุขภาพของบุคคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การจัดกิจกรรมการสร้างเสริมพลังงานอำนาจ (Empowerment) สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่ กิจกรรม “Health Talk”โดยการสร้างผู้แทนการดูแลสุขภาพเพื่อนำมาพูดคุยถึงวิธีการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพในบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยการพูดเพื่อเป็นกำลังใจและช่วยจุดประกาย(Inspiration) ความอยากในการสร้างเสริมสุขภาพทุก 2 เดือน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 2 ปี (1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2564)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เป็นโครงการพัฒนาระบบสารสนเทศการประเมินความเสี่ยงโรค COVID-19 สำหรับบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เนื่องจาก COVID19 เป็นโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ที่กำลังเป็นปัญหาทั่วโลกเมื่อปลายปี 2019 จนถึงปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เล็งเห็นความสำคัญในการประเมินความเสี่ยง โดยเฉพาะพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด เพื่อเป็นข้อมูลในการดูแลตนเอง ลดภาวะเสี่ยง และป้องกันโรค อันจะนำสู่การมีคุณภาพในการทำงานอย่างมีความสุขในมหาวิทยาลัยต่อไป
1. เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศการประเมินความเสี่ยงโรค COVID-19 ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2. เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดการเพื่อดำเนินการป้องกันการเกิดโรค COVID19 ในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมข้อมูลด้วยระบบ web application หลังจากการได้รับอนุญาตจากกรรมการจริยธรรม และดำเนินการวิจัยดังนี้
1) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามทั่วไป และแบบประเมินพฤติกรรมเสี่ยง COVID-19 สำหรับบุคลากร โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเองผ่านระบบ web application
2) ผู้วิจัยเก็บรวบรวมแบบสอบถามและแบบบันทึก และทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถาม ก่อนที่จะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวิธีทางสถิติต่อไป
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 2 ปี (1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2564)
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การพัฒนานวัตกรรมการคัดกรอง และฝ้าระวังภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง (Self-Monitoring Innovation) เพื่อลดระยะเวลาในการรอตรวจสุขภาพ และเป็นตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น และลดอุบัติการณ์และภาวะเสี่ยงของการเกิดปัญหาสุขภาพ ภาวะทุพพลพลภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พื้นที่ดำเนินการ
ทุกคณะในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยรวมบุคลากรทั้ง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ (ข้าราชการสาย ก. และพนักงานมหาวิทยาลัย) และบุคลากรสายสนับสนุน (ข้าราชการสาย ข. ค. พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและลูกจ้าง)
แผนการดำเนินงาน
พัฒนานวัตกรรมการคัดกรอง และฝ้าระวังภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง (Self-Monitoring Innovation) ผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสวมใส่ (Smart Wearable) ที่ใช้ร่วมกับเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่ (Modern Information Technology, Modern IT)เพื่อลดระยะเวลาในการรอตรวจสุขภาพ และเป็นเตรียมบุคลากรให้มีความพร้อมในการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้นโดยผ่านกิจกรรมต่อไปนี้
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 2 ปี (1 มกราคม 2563- 31 ธันวาคม 2564)
เนื่องจากจะเห็นได้ว่า ทิศทางการดูแลสุขภาพคนในวัยทำงานนั้น ควรให้ความสําคัญกับการพัฒนาคนกลุ่มวัยทำงานให้มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้การมีส่วนร่วมในการสร้างพลังขับเคลื่อน โดยเน้นกิจกรรมการดูแลที่สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ ซึ่งการมีส่วนร่วมของบุคลากรจึงเป็นเหมือนกุญแจสำคัญที่จะส่งผลให้เกิดความสําเร็จของการส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังนั้นการเปิดโอกาสให้เจ้าหน้าที่บุคลากรได้มีส่วนร่วมในทุก ทั่งในการแก้ไขปัญหาและป้องกันปัญหา โดยการจัดกิจกรรมเพื่อป้องกัน และแก้ไขหรือจัดการกับความเครียดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จะเป็นการทำให้บุคคลในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีศักยภาพในการดูแลตนเองและสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์มีประสิทฺธิภาพ
เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ของบุคลากรทั้ง 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มบุคลากรสาย วิชาการ (ข้าราชสาย ก. และพนักงานมหาวิทยาลัย) และบุคลากรสายสนับสนุน (ข้าราชสาย ข. ค. พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนและลูกจ้าง) ให้สามารถดูแลตนเองเพื่อป้องกันและจัดการกับความเครียดได้
กิจกรรมที่ 1 : การสำรวจความเครียด
กิจกรรมที่ 2 : การให้ความรู้เรื่องความเครียดและการผ่อนคลายความเครียด
กิจกรรมที่ 3 : การฝึกการให้การปรึกษา (Training for the trainer)กิจกรรมที่ 4 : จัดทำห้องเพื่อผ่อนคลายความเครียด
กิจกรรมที่ 5 : จัดทำห้องบริการให้การปรึกษา
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
การพัฒนาระบบสารสนเทศสุขภาพสำหรับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ มุ่งเน้นการพัฒนาระบบสารสนเทศประยุกต์ ที่สามารถนำข้อมูลผลกระทบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องด้านความเสี่ยงสุขภาพของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมุ่งเน้นไปยังการพัฒนาระบบเพื่อการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากร ภายใต้ 3 ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินสุขภาพประกอบด้วย 1) การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ (Health risk assessment) 2) การประเมินคุณภาพชีวิต (Health related quality of life (WHOQOL-BREF-Thai) และ 3) การประเมินพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ (Health promoting behaviors)
ระยะที่ 1 เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศประยุกต์เพื่อการประเมินสุขภาพสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่เกี่ยวข้องกับการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากร
ระยะที่ 2 เพื่อนำเสนอข้อมูลสารสนเทศด้านความเสี่ยงสุขภาพ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อนำสู่การส่งเสริมนโยบายหรือยุทธศาสตร์ที่แก้ไขปัญหาสุขภาพภายใต้การขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ
การดำเนินงานมุ่มเน้น การศึกษา วิเคราะห์ ออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศ สำหรับประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทั้ง 3 ด้าน เพื่อให้เกิดระบบการประเมินความเสี่ยงสุขภาพขั้นต้น และสามารถจัดเก็บข้อมูลเป็นไปอย่างมีระบบมีประสิทธิภาพ โดยการประเมินประสิทธิภาพระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และการกำกับดูแลโดยคณะกรรมการโครงการ เมื่อระบบเสร็จจะถูกนำไปปรับใช้งานกับบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งรองรับการเชื่อมต่อกับ Platform อื่นๆ ของโครงการ ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่สู่มหาวิทยาลัยสุขภาพต่อไป
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 มกราคม 2563 – 31 ธันวาคม 2563
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดกิจกรรมทั้งด้านสุขภาพกายและใจ เพื่อพัฒนาศักยภาพการสร้างเสริมสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ
สร้างความรู้ ความเข้าใจ และความตระหนัก เพื่อนำไปสู่การตื่นตัวในการดูแลรักษาสุขภาพทั้งกายและใจของบุคลากรมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จัดกิจกรรม 3อ. ดังนี้
1. อ : อาหาร
2. อ : ออกกำลังกาย
3. อ : อารมณ์
ระยะเวลาดำเนินโครงการ: 1 มกราคม – ธันวาคม 2563
หน่วยงานรับผิดชอบหลัก: สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่